เขาช้างเผือก
“เขาช้างเผือก” ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ในการขึ้นไป จะจำกัดจำนวนวันละไม่เกิน 60 คน และต้องจองล่วงหน้า 7 วัน พร้อมส่งชื่อ-สกุล เลขที่บัตรประชาชน และที่อยู่ให้ทางอุทยานฯ โดยจะใช้เวลาเดินเท้าประมาณ 6 ชั่วโมง เป็นระยะทาง 8 กิโลเมตรพร้อมกางเต้นท์ค้างคืนบนยอดเขา 1 คืน ซึ่งทางอุทยานฯ จะจัดเจ้าหน้าที่นำทาง และจ้างลูกหาบช่วยขนสัมภาระให้
"เขาช้างเผือก" เป็นชื่อยอดเขาที่สูงที่สุดของอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ มีความสูงประมาณ1,249 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง เป็นเส้นทางเดินป่าที่สวยงาม น่าตื่นตาตื่นใจ เส้นทางเดินไปสู่ยอดเขาช้างเผือกเป็นป่าโปร่งสลับกับทุ่งหญ้า มีจุดไฮไลท์ของการเดินทางอยู่ที่ “สันคมมีด” สันเขาที่สวยงามและน่าหวาดเสียวไปพร้อมกัน เมื่อขึ้นไปถึงยอดเขาจะสามารถมองเห็นวิวได้รอบทิศทาง 360 องศา โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยยกให้ที่แห่งนี้เป็น 1 ใน 10 Dream Destinations ที่นักท่องท่องเที่ยวควรไปเยือนมากที่สุด อีกด้วย
นักผจญภัยทุกท่าน ควรฟิตร่างกายไว้ให้พร้อมและอย่าลืมของสำคัญที่ควรนำติดตัวไป นั่นก็คือเสื้อแขนยาว แว่นกันแดด และไฟฉาย ที่สำคัญที่สุดคือหัวใจที่เข้มแข็ง
ความรู้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะกินหรือเที่ยว มีความรู้เราก็เฟี้ยวได้ทุกที่
วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2559
สถานที่ท่องเที่ยวหน้าหนาว ดอยม่อนจอง จ.เชียงใหม่
ม่อนจอง
ม่อนจอง ขึ้นอยู่กับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อย ซึ่งครอบคลุมพื้นที่อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ และ อำเภอสามเงา จังหวัดตาก สิ่งที่ดึงดูดให้นักท่องไพรมายังดอยม่อนจอง ก็คือ กวางผาหรือม้าเทวดาซึ่งมีถิ่นอาศัยอยู่ที่นี่ และทิวทัศน์ที่สวยงามของทิวเขา ซึ่งหากมาในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม จะได้พบดอกกุหลาบพันปีที่กำลังบาน ว่ากันว่าต้นนี้เป็นต้นที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยมี “ดอยหัวสิงห์” เป็นยอดเขาสูงสุด ทั้งนี้การเดินขึ้นม่อนจองสามารถไปเช้าเย็นกลับได้ แต่จะเหนื่อยมาก ต้องเริ่มออกเดินตั้งแต่ 06.30 น. เป็นอย่างน้อย หากเดินแบบไม่เหนื่อยเกินไปนักควรใช้เวลา 2 วัน 1 คืน ก่อนเดินขึ้นดอยต้องติดต่อขออนุญาตจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อย หน่วยมูเซอซึ่งเป็นที่ตั้งที่ทำการเขตรักษาพันธุ์ฯ
การเดินทางไปยังเขตรักษาพันธุ์ฯ อมก๋อย (หน่วยมูเซอ) จากเชียงใหม่ใช้ทางหลวงหมายเลข 108 แล้วแยกซ้ายจากอำเภอฮอดเข้าทางหลวงหมายเลข 1099 ไปจนถึงตัวอำเภออมก๋อย และตรงต่อไปตามทางหลวง 1099 ประมาณ 40 กิโลเมตร จะพบหน่วยมูเซออยู่ทางด้านซ้ายมือ จากหน่วยฯไปยังจุดเริ่มเดินอีกประมาณ 16 กิโลเมตร ทางในช่วงนี้จำเป็นต้องใช้รถขับเคลื่อนสี่ล้อและคนขับที่มีความชำนาญเป็นอย่างมาก เนื่องจากสภาพทางเป็นลูกรังและแคบคดเคี้ยวริมผา ผู้ที่เดินทางโดยรถโดยสารประจำทางจากอำเภอเมืองเชียงใหม่มีคิวรถจากประตูช้างเผือกมายังอมก๋อย รถออกประมาณ 08.00 น. ซึ่งบนม่อนจองไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใด ๆ หากต้องการพักแรมต้องนำเต็นท์และอาหารไปเอง
ไฮไลต์ของการมาเที่ยว ดอยม่อนจอง ก็คือ การได้ชมภูเขาสูงสลับซับซ้อนซึ่งทุ่งหญ้าจะเปลี่ยนเป็นสีทองอร่ามตาในช่วงหน้าหนาว เป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้น พระอาทิตย์ตกที่สวยงามมากแห่งหนึ่ง และอีกสิ่งหนึ่งที่นักท่องเที่ยวแวะเวียนมาเยือน ดอยม่อนจอง โดยเฉพาะช่วงฤดูหนาวช่วงเดือนธันวาคม-มกราคมก็คือกุหลาบพันปีหรือชื่อเฉพาะว่าคำแดงที่กำลัง ออกดอกแย้มกลีบบานสะพรั่ง เต็มต้นอยู่เป็นดงตามไหล่เขา ว่ากันว่าต้นนี้เป็นต้นที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
ม่อนจอง ขึ้นอยู่กับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อย ซึ่งครอบคลุมพื้นที่อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ และ อำเภอสามเงา จังหวัดตาก สิ่งที่ดึงดูดให้นักท่องไพรมายังดอยม่อนจอง ก็คือ กวางผาหรือม้าเทวดาซึ่งมีถิ่นอาศัยอยู่ที่นี่ และทิวทัศน์ที่สวยงามของทิวเขา ซึ่งหากมาในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม จะได้พบดอกกุหลาบพันปีที่กำลังบาน ว่ากันว่าต้นนี้เป็นต้นที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยมี “ดอยหัวสิงห์” เป็นยอดเขาสูงสุด ทั้งนี้การเดินขึ้นม่อนจองสามารถไปเช้าเย็นกลับได้ แต่จะเหนื่อยมาก ต้องเริ่มออกเดินตั้งแต่ 06.30 น. เป็นอย่างน้อย หากเดินแบบไม่เหนื่อยเกินไปนักควรใช้เวลา 2 วัน 1 คืน ก่อนเดินขึ้นดอยต้องติดต่อขออนุญาตจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อย หน่วยมูเซอซึ่งเป็นที่ตั้งที่ทำการเขตรักษาพันธุ์ฯ
การเดินทางไปยังเขตรักษาพันธุ์ฯ อมก๋อย (หน่วยมูเซอ) จากเชียงใหม่ใช้ทางหลวงหมายเลข 108 แล้วแยกซ้ายจากอำเภอฮอดเข้าทางหลวงหมายเลข 1099 ไปจนถึงตัวอำเภออมก๋อย และตรงต่อไปตามทางหลวง 1099 ประมาณ 40 กิโลเมตร จะพบหน่วยมูเซออยู่ทางด้านซ้ายมือ จากหน่วยฯไปยังจุดเริ่มเดินอีกประมาณ 16 กิโลเมตร ทางในช่วงนี้จำเป็นต้องใช้รถขับเคลื่อนสี่ล้อและคนขับที่มีความชำนาญเป็นอย่างมาก เนื่องจากสภาพทางเป็นลูกรังและแคบคดเคี้ยวริมผา ผู้ที่เดินทางโดยรถโดยสารประจำทางจากอำเภอเมืองเชียงใหม่มีคิวรถจากประตูช้างเผือกมายังอมก๋อย รถออกประมาณ 08.00 น. ซึ่งบนม่อนจองไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกใด ๆ หากต้องการพักแรมต้องนำเต็นท์และอาหารไปเอง
ไฮไลต์ของการมาเที่ยว ดอยม่อนจอง ก็คือ การได้ชมภูเขาสูงสลับซับซ้อนซึ่งทุ่งหญ้าจะเปลี่ยนเป็นสีทองอร่ามตาในช่วงหน้าหนาว เป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้น พระอาทิตย์ตกที่สวยงามมากแห่งหนึ่ง และอีกสิ่งหนึ่งที่นักท่องเที่ยวแวะเวียนมาเยือน ดอยม่อนจอง โดยเฉพาะช่วงฤดูหนาวช่วงเดือนธันวาคม-มกราคมก็คือกุหลาบพันปีหรือชื่อเฉพาะว่าคำแดงที่กำลัง ออกดอกแย้มกลีบบานสะพรั่ง เต็มต้นอยู่เป็นดงตามไหล่เขา ว่ากันว่าต้นนี้เป็นต้นที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
สถานที่ท่องเที่ยวหน้าหนาว อุทยานแห่งชาตืแม่เมย จ.ตาก
แหล่งท่องเที่ยว
จุดชมทะเลหมอก: จุดชมทะเลหมอกนี้อยู่หลังที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่เมย มีความสูงประมาณ 1,100 เมตร เป็นจุดที่มองเห็นทะเลหมอกได้กว้างไกลมาก รวมทั้งพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก อีกทั้งเป็นจุดชมวิวที่ต้อนรับผู้ที่นิยมการเดินป่า เพราะจาต้องเดินเท้าเข้าไปประมาณ 3-4 ชั่วโมง และต้องพักค้างแรม 1 คืน เพื่อชมทิวทัศน์ที่สวยงาม
ถ้ำแม่อุสุ: เป็นถ้ำหินปูนที่มีขนาดกว้างใหญ่ มีลำน้ำแม่อุสุไหลเข้าสู่ปากถ้ำซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ แล้วไหลเวียนไปออกด้านหลังถ้ำลงไปสู่แม่น้ำเมยซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีระยะทางโดยประมาณ 450 เมตร ปากถ้ำกว้างประมาณ 20 เมตร สูงประมาณ 6 เมตร ภายในของถ้ำมีคูหาใหญ่ๆ อยู่ 3 คูหา มีหินงอกหินย้อยที่สวยงามมาก เวลากลางวัน แสงอาทิตย์ส่องลาดผ่านปล่องถ้ำลงมากระทบหินทราย เกิดประกายแวววาว บริเวณปากทางเข้าถ้ำมีเจ้าหน้าที่นำเที่ยวชมภายใน ทางเดินในถ้ำค่อนข้างสะดวก มีเพียงบางช่วงที่ต้องปีนป่ายก้อนหินบ้าง ใช้เวลาเที่ยวชมประมาณ 1 ชั่วโมง ในช่วงฤดูฝนระดับน้ำในถ้ำจะขึ้นสูงจนไม่สามารถเข้าไปในถ้ำได้ ถ้ำแม่อุสุจึงเที่ยวได้เฉพาะในช่วงฤดูหนาวและฤดูแล้ง ถ้ำแม่อุสุอยู่ห่างจากอำเภอท่าสองยางตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 105 สายแม่สอด - แม่สะเรียง ระยะทางประมาณ 13 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายตามถนน รพช. ผ่านบ้านทีโนะโคะ ระยะทาง 2 กิโลเมตร ถึงถ้ำแม่อุสุ
น้ำตกชาวดอย: อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ตามถนนแม่สลิด-แม่ระเมิง ประมาณ 5 กิโลเมตร ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 17-18 มีเส้นทางเดินเท้าประมาณ 500 เมตร ใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที จะพบกับน้ำตกชาวดอยที่ไหลจากหน้าผาสูงราว 25-30 เมตร ลักษณะเป็นน้ำตกขนาดกลางชั้นเดียวที่ทิ้งลงสู่เบื้องล่าง รวมตัวเป็นสายธารไหลลัดเลาะไปตามโขดหินที่ระเกะระกะกลางลำห้วยแลดูสวยงามแปลกตา
น้ำตกชาวดอย: อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ตามถนนแม่สลิด-แม่ระเมิง ประมาณ 5 กิโลเมตร ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 17-18 มีเส้นทางเดินเท้าประมาณ 500 เมตร ใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที จะพบกับน้ำตกชาวดอยที่ไหลจากหน้าผาสูงราว 25-30 เมตร ลักษณะเป็นน้ำตกขนาดกลางชั้นเดียวที่ทิ้งลงสู่เบื้องล่าง รวมตัวเป็นสายธารไหลลัดเลาะไปตามโขดหินที่ระเกะระกะกลางลำห้วยแลดูสวยงามแปลกตา
น้ำตกแม่ระเมิง: น้ำตกแม่ระเมิง จากที่ทำการของอุทยานแห่งชาติ ตามเส้นทางสู่ม่อนกิ่วลมอยู่บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 20 ทางด้านขวามือจะพบน้ำตก ลักษณะเป็นน้ำตกขนาดเล็กสูงราว 15 เมตร ตกลงมาเป็นสองชั้นไหลลงสู่แอ่งน้ำเบื้องล่าง
น้ำตกแม่สลิดน้อย: อยู่ด้านหลังที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ต้องเดินทางเท้าลัดเลาะไปตามลำห้วยแม่สลิด ใช้เวลาประมาณ 30 นาที ระหว่างทางจะมีพันธุ์ไม้ที่น่าสนใจให้ศึกษา เช่น ดอกเทียน หงอนเงือกเล็ก แววมยุราเล็ก ดอกไม้เถา เห็ดป่าสีสวยสดใส และเฟิร์น ใช้ชมตลอดทาง ถึงน้ำตกชั้นแรก แยกเป็นสองสายตกจากหน้าผาสูงราว 40 เมตร ส่วนชั้นที่ 2, 3 และ 4 ต้องปีนป่ายไปตามไหล่เขาที่สูงชัน ชั้นบนสุดจะพบน้ำตกอีกสองชั้นใหญ่ๆ มีสายน้ำทิ้งตัวไหลลงสู่เบื้องล่างติดต่อกันลงมาถึงสองชั้น จากหน้าผาสูงชันไม่น้อยกว่า 80 เมตร ลงสู่แอ่งน้ำใหญ่ด้วยความแรงของสายน้ำทำให้เกิดละอองเป็นฝอยฟุ้งกระจายไปทั่ว ทางอุทยานแห่งชาติได้จัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติน้ำตกแม่สลิดน้อย สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการเดินท่องธรรมชาติ ฟังเสียงสายน้ำ และศึกษาพรรณไม้นานาชนิด อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 1.8 กิโลเมตร ระหว่างเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติมีน้ำตกขนาดเล็กมากมายให้ได้ชม
น้ำตกแม่สลิดน้อย: อยู่ด้านหลังที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ต้องเดินทางเท้าลัดเลาะไปตามลำห้วยแม่สลิด ใช้เวลาประมาณ 30 นาที ระหว่างทางจะมีพันธุ์ไม้ที่น่าสนใจให้ศึกษา เช่น ดอกเทียน หงอนเงือกเล็ก แววมยุราเล็ก ดอกไม้เถา เห็ดป่าสีสวยสดใส และเฟิร์น ใช้ชมตลอดทาง ถึงน้ำตกชั้นแรก แยกเป็นสองสายตกจากหน้าผาสูงราว 40 เมตร ส่วนชั้นที่ 2, 3 และ 4 ต้องปีนป่ายไปตามไหล่เขาที่สูงชัน ชั้นบนสุดจะพบน้ำตกอีกสองชั้นใหญ่ๆ มีสายน้ำทิ้งตัวไหลลงสู่เบื้องล่างติดต่อกันลงมาถึงสองชั้น จากหน้าผาสูงชันไม่น้อยกว่า 80 เมตร ลงสู่แอ่งน้ำใหญ่ด้วยความแรงของสายน้ำทำให้เกิดละอองเป็นฝอยฟุ้งกระจายไปทั่ว ทางอุทยานแห่งชาติได้จัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติน้ำตกแม่สลิดน้อย สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการเดินท่องธรรมชาติ ฟังเสียงสายน้ำ และศึกษาพรรณไม้นานาชนิด อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 1.8 กิโลเมตร ระหว่างเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติมีน้ำตกขนาดเล็กมากมายให้ได้ชม
ม่อนกิ่วลม: ที่ใช้ชื่อว่า ม่อนกิ่วลม ก็เพราะที่แห่งนี้มีช่องหรือกิ่ว ที่มีลมพัดผ่านอยู่เสมอ เป็นจุดชมดวงอาทิตย์ขึ้นยามเช้าที่สวยที่สุดบนเส้นทางสายสายแม่สลิดน้อย-แม่ระเมิง ม่อนกิ่วลมอยู่บนความสูง 940 เมตรจากระดับน้ำทะเล มองเห็นทะเลหมอกปกคลุมหุบเขาเบื้องล่าง โดยมียอดเขาสูงต่างๆ โผล่พันสายหมอกแลดูราวกับเกาะใหญ่น้อยกลางทะเลสีขาว อากาศเย็นสบายตลอดทั้งปี สภาพป่าโดยรอบเป็นป่าดิบเขา จุดชมทิวทัศน์ม่อนกิ่วลม อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่เมย ประมาณ 12 กิโลเมตร
ม่อนครูบาใส: เป็นจุดชมวิวอีกจุดหนึ่งที่มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากต่างพากันลุ่มหลงกับความสวยงามของสายหมอก อยู่ใกล้เคียงกับม่อนพูนสุดา ห่างกันประมาณ 200 เมตร สามารถชมทะเลหมอกยามเช้าและชมพระอาทิตย์ตกดินได้ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่เมย ประมาณ 7 กิโลเมตร
ม่อนปุยหมอก: ม่อนปุยหมอกเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ที่น่าสนใจ ตลอดเส้นทางเดินเท้าไปม่อนปุยหมอก จะมีทุ่งหญ้าสีทองอยู่ตามข้างทางพลัดปลิวไสว เหมือนดั่งปุยฝ้ายอยู่ตามทางมากมาย มีการเดินป่าศึกษาธรรมชาติระยะทางจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 3.8 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินเท้าประมาณ 3-4 ชั่วโมงเป็นจุดที่สูงที่สุดและสามารถชมพระอาทิตย์ขึ้นและตกได้ในที่เดียวกัน
ม่อนพูนสุดา: เป็นจุดชมทะเลหมอกที่สวยงามมากอีกแห่งหนึ่ง อยู่ห่างจากม่อนกระทิง 2 กิโลเมตร ชื่อม่อนตั้งขึ้นตามชื่อของนักถ่ายภาพชั้นครูของเมืองไทย คือ อาจารย์พูน เกษจำรัส และภรรยาของท่านชื่อ สุดา เพื่อเป็นเกียรติแด่อาจารย์พูน ในฐานะที่เป็นผู้เดินทางมาถ่ายภาพบนหม่อนนี้เป็นคนแรก
ม่อนพูนสุดา: เป็นจุดชมทะเลหมอกที่สวยงามมากอีกแห่งหนึ่ง อยู่ห่างจากม่อนกระทิง 2 กิโลเมตร ชื่อม่อนตั้งขึ้นตามชื่อของนักถ่ายภาพชั้นครูของเมืองไทย คือ อาจารย์พูน เกษจำรัส และภรรยาของท่านชื่อ สุดา เพื่อเป็นเกียรติแด่อาจารย์พูน ในฐานะที่เป็นผู้เดินทางมาถ่ายภาพบนหม่อนนี้เป็นคนแรก
สถานที่ท่องเที่ยวหน้าหนาวน่าชม
ทุ่งกะมัง
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จ.ชัยภูมิ
ทุ่งกะมัง
เป็นทุ่งที่เกิดจากการทำลายป่าของชาวบ้าน
ที่ขึ้นไปบุกรุกป่าธรรมชาติเพื่อปลูกพืชและตั้งหลักแหล่ง จนผืนป่าถูกทำลาย
สัตว์ป่าถูกล่า โดยเฉพาะกระซู่ ที่เป็นสัตว์ป่าสงวนที่หายากมาก ได้ถูกล่าไปแล้วถึง
3 ตัว ในบริเวณทุ่งกะมัง เกิดเป็นข่าวใหญ่ในหน้าหนังสือพิมพ์เมื่อปีพ.ศ. 2513
นำไปสู่การประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว ในปีพ.ศ. 2515
พร้อมทั้งอพยพราษฎรออกจากเขตพื้นที่ไป สิ่งที่หลงเหลือคือทุ่งกว้างไม่เหลือเค้าสภาพของป่าทึบให้เห็นอีกต่อไป
ความที่เป็นทุ่งโล่งมีภูเขาล้อมรอบมองดูเหมือนชามหรือกาละมัง จึงถูกขนานนามว่า
"ทุ่งกะมัง"
เมื่อปี พ.ศ. 2526
และ พ.ศ. 2535 โครงการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว ทุ่งกะมัง จังหวัดชัยภูมิ
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ได้ปล่อยสัตว์ป่าคืนถิ่นในบริเวณนี้ เช่น เก้ง กวาง กระจง และนกต่างๆ
มีการจัดทำดินโป่งในบริเวณทุ่งกะมังเพื่อให้สัตว์มากินดินโป่ง
และเผาแปลงทุ่งหญ้าเพื่อให้เกิดหญ้าระบัด*เป็นอาหารของเก้ง กวางในช่วงฤดูแล้ง
บนยอดเนินเหนือบริเวณทุ่งกะมัง มีพระตำหนักที่ประทับอยู่เหนืออ่างน้ำ
(*ในสภาพพื้นที่ป่าทุ่งหญ้าโดยทั่วไป
หากต้นหญ้าที่มีอยู่แก่และต้นสูง สัตว์กินพืชทั้งหลาย เช่น เก้ง กวาง จะไม่ค่อยกิน
เนื่องจากลำต้นจะแข็ง มีไฟเบอร์มาก และมีคุณค่าทางอาหารน้อย
การจัดการทุ่งหญ้าโดยใช้วิธีการชิงเผาเพื่อให้หญ้าระบัดเป็นวิธีหนึ่งในการจัดการทุ่งหญ้าเพื่อให้เป็นแหล่งอาหารของสัตว์ป่า
เมื่อหญ้าอ่อนระบัดจะมีสัตว์กินพืชเข้ามาใช้พื้นที่เป็นจำนวนมาก
ข้อดีของการชิงเผาอีกข้อหนึ่งคือ
เป็นการป้องกันไฟป่าหากเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติและไม่มีการควบคุมจะเกิดอันตรายต่อสัตว์ป่าและสภาพป่าโดยทั่วไป)
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว
ตั้งอยู่บนเทือกเขาเพชรบูรณ์ เนื้อที่ 975,000 ไร่ (1,560 ตารางกิโลเมตร)
ในเขตพื้นที่อำเภอคอนสาร อ.ภูเขียว อ.เกษตรสมบูรณ์ และ อ.หนองบัวแดง
จังหวัดชัยภูมิ เป็นที่ราบบนภูเขาสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000 เมตร
เป็นผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ที่สุด 1 ใน 5 แห่งของประเทศ
และเป็นผืนป่าแห่งเดียวของภาคอีสานเป็นที่อยู่อาศัย
และแหล่งอาหารของสัตว์ป่าที่สมบูรณ์ที่สุดที่ยังเหลือให้สัตว์ป่าได้อาศัยตามธรรมชาติอย่างปลอดภัย
มีการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า
การเพาะเลี้ยงและการขยายพันธุ์สัตว์ป่า เช่น ไก่ฟ้าพญาลอ นกยูง เก้ง กวาง
และเนื้อทราย โดยปล่อยสัตว์ให้อาศัยอยู่ในพื้นที่ธรรมชาติ
สามารถสืบพันธุ์และขยายพันธุ์ได้เอง
ได้มีการจัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติสำหรับผู้สนใจศึกษาธรรมชาติอย่างใกล้ชิด
สำหรับการมาเที่ยวทุ่งกะมัง
ให้มาทางด่านตรวจ ศูนย์พิทักษ์ป่าภูเขียวที่ 2 (ปางม่วง)
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว อยู่ที่ตำบลทุ่งลุยลาย อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ
ทุ่งกะมัง
เป็นทุ่งกว้างใหญ่คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 5,000 ไร่ มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 900 เมตร
ตั้งอยู่กลางพื้นที่ป่าภูเขียวค่อนไปทางทิศตะวันตก
ลักษณะเป็นทุ่งหญ้าธรรมชาติบนลูกเนินสูงต่ำสลับประดุจลูกคลื่นต่อเนื่องกันไป
มีธารน้ำหลายสายไหลผ่าน พื้นที่โดยรอบเป็นป่าดิบเขา
บางตอนมีป่าสนขึ้นสลับกับต้นเหียงและต้นก่อ
บริเวณกลางทุ่งกะมังเกือบจะไม่มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นเลยนอกจากพันธุ์ไม้ดอกหลายชนิดขึ้นแซมตามกอหญ้าเป็นหย่อม
เป็นสภาพที่สวยงามมาก
สิ่งที่น่าสนใจของการมาเที่ยวทุ่งกะมังคือการชมเนื้อทรายอย่างใกล้ชิด
เนื้อทราย
เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกกวางชนิดหนึ่ง มักหากินช่วงเช้า เย็น และกลางคืน
มันมีสายตาที่ดีในความมืด ตาของเนื้อทรายสีดำและกลมโตใหญ่
จึงได้ชื่อว่าเป็นสัตว์ที่มีดวงตาสวยที่สุด
แม่เนื้อทรายจะเลี้ยงลูกอย่างดีจนกระทั่งลูกโต
ซึ่งมักพบว่าลูกที่โตแล้วยังติดตามแม่ตลอดเวลา
เมื่อลูกเนื้อทรายตัวผู้โตขึ้น
มันจะเริ่มมีเขางอกออกมา ช่วงปีแรกเนื้อทรายจะมีเขาเล็กๆ เรียกว่า เขาเทียน
หลังฤดูผสมพันธุ์ของทุกปีมันจะผลัดเขาออกไป
และปีต่อมาจะสร้างเขาใหม่มีกิ่งแขนงออกมาแต่ไม่ใหญ่นัก จนปีที่ 3
มันจะมีเขาที่ใหญ่และแข็งแรง เป็นที่สะดุดตาของตัวเมีย
นั่นหมายความว่ามันเป็นเนื้อทรายที่โตเต็มที่แล้ว
เมื่อใกล้ผสมพันธุ์ตัวผู้จะเริ่มมีความต้องการผสมพันธุ์
เนื้อทรายที่โตเต็มที่จะมีเขาที่สวยงามและแหลมคม
แต่นั่นมีไว้เพื่อการต่อสู้แย่งชิงตัวเมีย
หากเจอศัตรูปหรือสิ่งผิดปกติมันจะใช้เท้ากระทืบเพื่อขู่ และวิ่งหนี
ตามธรรมชาติแล้ว
ถิ่นที่อยู่เดิมของมันอยู่ตามที่ราบลุ่มริมแม่น้ำ และทุ่งหญ้าริมทะเลซึ่งมักมีกอหญ้าขึ้นอยู่มาก
แต่ทุกวันนี้พื้นที่เหล่านี้ถูกคุกคามจนไม่เหลือพื้นตามธรรมชาติดั้งเดิมสำหรับพวกตาหวานเหล่านี้อีกแล้ว
ปัจจุบันพบเนื้อทรายได้ที่ ห้วยขาแข้ง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว
จังหวัดชัยภูมิ โดยเฉพาะที่ภูเขียว เป็นสถานที่ที่มีเนื้อทรายอยู่มากที่สุด
จากการเพาะขยายพันธุ์และสืบพันธุ์เองตามธรรมชาติ
สถานที่ท่องเที่ยวหน้าหนาวน่าชม อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่
สถานที่ท่องเที่ยวหน้าหนาวน่าชม
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
จ.เชียงใหม่
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
เดิมเป็นส่วนหนึ่งของ "ป่าสงวนแห่งชาติดอยอินทนนท์"
ต่อมาได้ถูกสำรวจและจัดตั้งเป็น 1 ใน 14 ป่า
ที่ทางรัฐบาลให้ดำเนินการเป็นอุทยานแห่งชาติ คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ
ได้ประกาศให้ดอยอินทนนท์เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 6 ของประเทศไทย เมื่อ พ.ศ.2515
ดอยอินทนนท์
แต่เดิมมีชื่อว่า "ดอยหลวง" หรือ "ดอยอ่างกา"
เนื่องจากขนาดของดอยที่ใหญ่มาก คำว่า หลวง เป็นภาษาเหนือ แปลว่า ใหญ่
ส่วนคำว่า อ่างกา มาจากภาษาปกาเกอญอ (กะเหรี่ยง) แปลว่า ใหญ่ เช่นกัน
เดิมทีป่าไม้ทางภาคเหนือจะอยู่ในความควบคุมของเจ้าผู้ครองนครต่างๆ
สมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ (องค์สุดท้าย)
พระองค์ให้ความสำคัญกับป่าไม้อย่างมาก โดยเฉพาะป่าในบริเวณดอยหลวง ทรงรับสั่งว่า
หากสิ้นพระชนม์ลงให้นำอัฐิบางส่วนขึ้นไปสร้างสถูปบรรจุไว้บนดอย
ดอยนี้จึงมีนามเรียกขานว่า "ดอยอินทนนท์"
แต่มีข้อมูลบางกระแสกล่าวว่า ที่เรียก ดอยอินทนนท์ นั้น
ก็เพื่อไม่ให้ซ้ำซ้อนกับ ดอยหลวง ของอำเภอเชียงดาว
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
มีเนื้อที่ประมาณ 482.4 ตารางกิโลเมตร หรือ 301,500 ไร่ ครอบคลุมเขตอำเภอดอยหล่อ
อำเภอจอมทอง และอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
สภาพภูมิประเทศทั่วไปประกอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อน มีดอยอินทนนท์เป็นยอดเขาที่สูงที่สุด
สูงจาก ระดับน้ำทะเล 2,565 เมตร เนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นภูเขาสูง
อากาศจึงหนาวเย็นตลอดปี รวมถึงฤดูร้อนด้วย บนยอดดอยมีความชื้นสูงมาก
ในฤดูหนาวอุณหภูมิจะต่ำกว่าศูนย์องศงเซลเซียสทุกปี สามารถพบเห็น แม่ขะนิ้ง หรือ
น้ำค้างแข็งได้
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศประกอบด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน
เป็นส่วนหนึ่งของแนวเขตเทือกเขาถนนธงชัยที่ทอดตัวตามแนวเหนือ-ใต้
ทอดตัวมาจากเทือกเขาหิมาลัยในประเทศเนปาล มีระดับความสูงของพื้นที่อยู่ระหว่าง 400
- 2,565 เมต รจากระดับน้ำทะเลปานกลาง โดยจุดสูงสุดอยู่ที่ยอดดอยอินทนนท์
ซึ่งเป็นจุดที่สูงสุดในประเทศไทย ยอดเขาที่มีระดับสูงรองลงมา คือ ยอดดอยหัวหมดหลวง
สูง 2,330 เมตร ยอดดอยหัวหมดน้อย สูง 1,900 เมตร และยอดดอยหัวเสือ สูง 1,881 เมตร
จากระดับน้ำทะเล
ลักษณะโครงสร้างทางธรณีของอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์โดยทั่วไป
ประกอบด้วยหินที่มีอายุตั้งแต่ยุคแคมเบรียนขึ้นไป
และหินส่วนใหญ่จะเป็นหินไนส์และหินแกรนิต ส่วนหินชนิดอื่นๆ
ที่พบจะเป็นหินยุคออร์โดวิเชียนซึ่งได้แก่หินปูน
จนถึงยุคเทอร์เซียรี่ได้แก่หินกรวดมน
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารที่สำคัญของแม่น้ำปิง
ให้กำเนิดแม่น้ำลำธารหลายสาย ที่สำคัญ ได้แก่ ลำน้ำแม่วาง ลำน้ำแม่กลาง ลำน้ำแม่ยะ
ลำน้ำแม่หอย ลำน้ำแม่แจ่ม และลำน้ำแม่เตี๊ยะ
ซึ่งลำน้ำเหล่านี้จะไหลผ่านและหล่อเลี้ยงชุมชนต่างๆ ในเขตอำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม
อำเภอฮอด อำเภอแม่วาง และอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ แล้วไหลลงสู่แม่น้ำปิง
ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปของพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดพาเอาความชุ่มชื้นและเมฆฝนเข้ามาทำให้ฝนตก
และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดมาจากประเทศจีนจะนำเอาความหนาวเย็นและความแห้งแล้งเข้ามา
ทำให้เกิดฤดูกาลต่างๆ โดยจะมีฤดูร้อนในช่วงระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม
ฤดูฝนในช่วงระหว่างเดือนมิถุนายน-พฤศจิกายน
และฤดูหนาวในช่วงระหว่างเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ สลับกันไป
แต่เนื่องจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์มีความหลากหลายทางด้านระดับความสูง
ทำให้ลักษณะอากาศในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันอย่างมาก
ในพื้นที่ที่ระดับความสูงจากน้ำทะเลต่ำกว่า 1,000 เมตร
ลงมาจะมีลักษณะของสภาพอากาศแบบเขตร้อน
ตอนกลางของพื้นที่ที่มีระดับความสูงจากน้ำทะเลระหว่าง
1,000-2,000 เมตร มีสภาพอากาศแบบกึ่งเขตร้อน สภาพอากาศโดยทั่วไปจะมีลักษณะค่อนข้างเย็นและชื้น
อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 20 องศาเซลเซียส ในช่วงฤดูหนาวในเดือนธันวาคม-มกราคม
อุณหภูมิเฉลี่ยจะอยู่ระหว่าง 15-17 องศาเซลเซียส
ในพื้นที่ที่มีระดับความสูงจากน้ำทะเลกว่า
2,000 เมตร ขึ้นไป มีสภาพอากาศแบบเขตอบอุ่น พื้นที่สูงตอนบนของอุทยานแห่งชาติ
โดยทั่วไปแล้วจะมีสภาพที่ชุ่มชื้นและหนาวเย็นตลอดปี
โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณยอดดอยอินทนนท์ซึ่งมีลักษณะเป็นสันเขาและยอดเขา
จะมีกระแสลมที่พัดแรงและมีสภาพอากาศที่หนาวเย็นมาก
และในช่วงวันที่หนาวจัดในช่วงเดือนธันวาคม - มกราคม อุณหภูมิจะลดต่ำลงถึง 0-4
องศาเซลเซียส และจะมีน้ำค้างแข็งเกิดขึ้น
พืชพรรณ
สังคมพืชในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
สามารถจำแนกออกเป็น
- ป่าเต็งรัง พบกระจายทั่วๆ ไปในพื้นที่รอบๆ อุทยานแห่งชาติในระดับความสูงจากน้ำทะเล 400-750 เมตร ตามเนินเขาหรือสันเขาที่แห้งแล้ง หรือตามด้านลาดทิศตะวันตกและทิศใต้ของอุทยานแห่งชาติ
- ป่าดิบแล้ง พบกระจายเป็นหย่อมเล็กหย่อมน้อยในระดับความสูง 400-1,000 เมตร ตามบริเวณหุบเขา ริมลำห้วย และสบห้วยต่างๆ
- ป่าดิบเขาตอนล่าง เป็นป่าที่พบในพื้นที่ที่มีระดับความสูงจากน้ำทะเล 1,000-1,800 เมตร หรือในบริเวณตอนกลางของอุทยานแห่งชาติ ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกทำลายจากชาวเขาที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ทำให้มีป่าที่มีอยู่เป็นป่าที่กำลังฟื้นสภาพ หรือป่ารุ่นใหม่ จะมีป่าดิบเขาดั่งเดิมเหลืออยู่บ้างเพียงเล็กน้อย สภาพโดยทั่วไปของป่าดิบเขาในพื้นที่ดอยอิทนนท์จึงมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับระบบและวิธีการฟื้นฟูของสังคมพืช ชนิดป่าที่พบที่สำคัญได้แก่ ป่าสนล้วน ป่าก่อผสมสน ป่าก่อ และป่าดิบเขาดั่งเดิม
- ป่าดิบเขาตอนบน อยู่ในพื้นที่ที่มีระดับความสูงจากน้ำทะเล 1,800 เมตรขึ้นไป สามารถแบ่งออกได้เป็น ป่าดงดิบ-ป่าก่อชื้น ป่าดงดิบเขตอบอุ่น และป่าพรุเขตอบอุ่น สภาพโดยทั่วไปเป็นป่าที่มีต้นไม้สูงใหญ่ และหลายแห่งจะมีลักษณะของป่าดึกดำบรรพ์ พืชพื้นล่างจะไม่แน่นทึบ ทำให้ตามกิ่ง ยอด และลำต้นของไม้ในป่าจะมีมอส กล้วยไม้ เฟิน กุหลาบพันปี สำเภาแดง ขึ้นปกคลุม
สัตว์ป่า
สัตว์ป่าในบริเวณอุทยานแห่งชาติที่นี้มีจำนวนลดลงไปมาก
เนื่องจากถูกชาวเขาเผ่าต่างๆ ล่าเป็นอาหาร และป่าซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยถูกถางลงมาก
ทำให้สัตว์ใหญ่บางชนิดหมดไปจากป่านี้ สัตว์ที่เหลืออยู่ส่วนมากเป็นสัตว์ขนาดเล็ก
เช่น กระรอก กระแตธรรมดา กระเล็นขนปลายหูสั้น อ้นเล็ก เม่นหางพวง อีเห็นข้างลาย
ชะมดแผงสันหางดำ นกแซงแซวเล็กเหลือบ นกปรอดหัวสีเขม่า นกเด้าดินทุ่ง เหยี่ยว
เพเรกริน ไก่ฟ้าหลังขาว นกเงือกคอแดง นกพญาไฟสีกุหลาบ กิ้งก่าหัวสีฟ้า
จิ้งเหลนเรียวจุดดำ ตุ๊กแกบ้าน งูลายสอคอแดง กบห้วยสีข้างดำ เขียดหนอง อึ่งกราย
คางคกเล็ก ปาดแคระฯลฯ แต่อย่างไรก็ตาม พื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ยังคงความสำคัญในด้านของการเป็นแหล่งของนกป่าที่สำคัญของประเทศไทย
และเป็นแหล่งของสัตว์ป่าที่หายาก และมีอยู่เฉพาะถิ่นอยู่หลายชนิด ที่สำคัญได้แก่
หนูหญ้าดอย กระท่าง เต่าปูลู นกศิวะหางสีน้ำตาล นกปีกสั้นสีนำเงิน
นกกระจิ๊ดคอสีเทา และนกกินปลีหางยาว
เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ
อุทยานแห่งชาติได้ทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติ
ตามแนวเส้นทางถนนสายยอดดอยอินทนนท์-แม่แจ่ม ไว้ให้บริการนักท่องเที่ยว
ก่อนใช้เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ต้องติดต่อขอเจ้าหน้าที่นำทางจากอุทยานแห่งชาติ ณ
ที่ทำการอุทยานแห่งชาติก่อน
- เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ กิ่วแม่ปาน
อยู่ตรง กม.ที่ 42 ของถนนสายจอมทอง-ยอดดอยอินทนนท์
ใกล้กับพระมหาธาตุนภเมทนีดล และพระมหาธาตุนภพลภูมิสิริ
เส้นทางนี้จะผ่านสภาพธรรมชาติที่แตกต่างกัน 2 ลักษณะ คือ
ป่าดิบเขากับทุ่งหญ้าบนสันเขา
ทางช่วงแรกผ่านเข้าไปในป่าดิบเขาซึ่งมีบรรยากาศร่มครึ้ม
มีแสงแดดส่องลงมาเพียงรำไรตามพื้นป่าเต็มไปด้วยเฟินหลากหลายชนิด
มีมอสสีเขียวขึ้นคลุมตามโคนต้นไม้และบริเวณริมห้วยที่ชุมชื้น
ทางจะเดินขึ้นเขาจนทะลุออกยังทุ่งหญ้าโล่งกว้างของสันกิ่วแม่ปานซึ่งมีแสงแดดจ้าและสายลมแรง
ทำให้บรรยากาศเปลี่ยนไปจากสภาพที่ผ่านมาทันที
ทุ่งหญ้าบริเวณนี้เคยเป็นป่าดิบเขามาก่อน
แต่ได้ถูกบุกรุกทำลายไปจนมีสภาพดังเช่นปัจจุบัน จากนี้ทางเดินจะเลียบไปตามสันเขาที่มีดงต้นกุหลาบพันปี
รวมทั้งไม้พุ่มขนาดเล็กอย่างช้ามะยมดอยและต่างไก่ป่า
ซึ่งเป็นตัวอย่างของสังคมพืชกึ่งอัลไพน์ให้ศึกษา
ทางช่วงสุดท้ายจะเข้าสู่ป่าดิบเขาอีกครั้งและไปสิ้นสุดที่จุดเริ่มต้นของเส้นทาง
รวมระยะทางทั้งหมดประมาณ 3
กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดิน 2-3 ชั่วโมง
เส้นทางนี้อยู่ที่ระดับความสูงประมาณ
2,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล
ผู้สนใจต้องติดต่อขอเจ้าหน้าที่นำทางที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
ช่วงเวลาที่เหมาะแก่การเดินเที่ยวชมคือ เดือนธันวาคม-มกราคม
ส่วนในช่วงเดือนมิถุนายน-ตุลาคม เส้นทางนี้ปิดให้บริการเพื่อให้เวลาธรรมชาติฟื้นตัว
- เส้นทางสายถ้ำบริจินดา
เป็นทางระยะสั้น เริ่มต้นที่กิโลเมตรที่ 8.5 ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 1 ชั่วโมง เหมาะสำหรับการศึกษาในเรื่องกำเนิดถ้ำ สิ่งมีชีวิตในถ้ำ
การเกิดหินงอกหินย้อย สภาพป่าเบญจพรรณผสมกับป่าเต็งรัง
- เส้นทางศึกษาธรรมชาติ กม.38–น้ำตกสิริภูมิ
เริ่มต้นริมถนนกิโลเมตรที่
38 ตรงข้างทางแยกไปอำเภอแม่แจ่ม
เป็นเส้นทางเดินป่าระยะไกลประมาณ 5.5 กิโลเมตร
ใช้เวลาเดินประมาณ 3 ชั่วโมง
เหมาะสำหรับการดูนกที่อาศัยอยู่ในป่าดิบเขาระดับ 1,500 เมตรจากระดับน้ำทะเล
- เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ปางสมเด็จ-ผาหมอน
เป็นทางเดินป่าระยะไกล
ประมาณ 6 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 4 ชั่วโมง เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบการเดินป่าโดยเฉพาะ
และต้องการศึกษาเส้นทางเดินป่าสมัยที่ยังไม่มีถนนตัดขึ้นดอยอินทนนท์
- เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ผาแว่นแก้ว-น้ำตกวชิรธาร-บ้านสบหาด
ระยะทางประมาณ 3.5 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 1 ชั่วโมง เหมาะสำหรับการศึกษาในเรื่องของสังคมป่าผสมผลัดใบ
โดยเฉพาะในเดือนมกราคม ผืนป่าจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองส้ม ชมทิวทัศน์ของน้ำตกแม่กลาง
น้ำตกวชิรธาร ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวกะเหรี่ยงบ้านสบหาด การทำการเกษตร
และที่ผาแว่นแก้ว ซึ่งมีภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์อายุ 2,000-3,000 ปี
- เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ยอดดอย-น้ำตกสิริภูมิ
เป็นเส้นทางเดินป่าระยะไกลประมาณ
8 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 5 ชั่วโมง เหมาะสำหรับศึกษาความแตกต่างของพรรณไม้ในระดับความสูงที่ถูกทำลาย
การฟื้นฟูสภาพ การส่งเสริมอาชีพชาวเขา และชมทิวทัศน์ของหุบเขาด้านล่าง
- เส้นทางศึกษาธรรมชาติน้ำตกผาดอกเสี้ยว
ระยะทางประมาณ 2,500 เมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 2 ชั่วโมง เหมาะสำหรับการศึกษาในเรื่องของสังคมป่าเต็งรังผสมป่าสน
คุณประโยชน์ของป่า วิถีชีวิตชาวปกาเกอญอ นาขั้นบรรได และชมน้ำตกผาดอกเสี้ยว
- เส้นทางศึกษาธรรมชาติอ่างกา
อยู่บนยอดดอยอินทนนท์
เส้นทางนี้สามารถสัมผัสกับธรรมชาติอันชวนหลงไหลของป่าดิบเขาได้ง่ายที่สุด
ภายในจัดทำเป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติระยะทางประมาณ 300 เมตร โดยใช้สะพานไม้ทั้งหมด
แหล่งท่องเที่ยวบนดอยอินทนนท์ที่น่าสนใจมีหลายแห่ง
ได้แก่
กลุ่มน้ำตกแม่ปาน
ประกอบด้วยน้ำตก 7 แห่ง ได้แก่ น้ำตกแม่ปาน น้ำตกออบน้อย
น้ำตกผาสำราญ น้ำตกสองพี่น้อง น้ำตกธารทอง น้ำตกแท่นพระสังข์
และน้ำตกห้วยทรายเหลือง อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ (กม.31) ไปตามถนนสายจอมทอง-ดอยอินทนนท์ ไปยังด่านตรวจที่ 2 (กม.38)
แยกซ้ายไปทางอำเภอแม่แจ่มประมาณ 6 กิโลเมตร
มีทางแยกขวาเข้าไปหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ อน.2 (แม่แจ่ม)
ประมาณ 2 กิโลเมตร
ซึ่งทางอุทยานแห่งชาติได้จัดเส้นทางศึกษาธรรมชาติผาสำราญ
(น้ำตกแม่ปาน-ห้วยทรายเหลือง) เป็นแส้นทางวงรอบ สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,150 เมตร สามารถเริ่มเดินจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติไปตามเส้นทางเข้าน้ำตกแม่ปาน
จะพบเห็นน้ำตกได้ทั้ง 7 แห่ง
และกลับมายังจุดเริ่มต้นบริเวณหน่วยฯ ชมน้ำตกห้วยทรายเหลือง
จุดชมทิวทัศน์ กม. 41
จุดชมทิวทัศน์อยู่ตรงกิโลเมตรที่
41 ของถนนสายจอมทอง-ยอดดอยอินทนนท์
สามารถมองเห็นทิวทัศน์อันกว้างไกลของขุนเขาสลับซับซ้อน
โดยเฉพาะยามเช้าจะมีทะเลหมอกปกคลุมเหนือหุบเขาน่าชมมาก
จากจุดชมทิวทัศน์สามารถมองเห็นพระมหาธาตุนภเมทนีดล
และพระมหาธาตุนภพลภูมิสิริสูงเด่นอยู่คู่กัน
น้ำตกแม่กลาง
เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ซึ่งมีน้ำไหลตลอดปี
และมีแอ่งน้ำขนาดใหญ่ให้เล่นน้ำหลายแห่ง
แต่ในช่วงฤดูฝนกระแสน้ำไหลแรงจนอาจเป็นอันตรายต่อการเล่นน้ำ
น้ำตกแม่กลางอยู่ทางทิศตะวันออกของอุทยานแห่งชาติ จากถนนสายจอมทอง-ดอยอินทนนท์
ประมาณ กม.ที่ 8
ก่อนถึงด่านตรวจของอุทยานแห่งชาติ แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ 1 กิโลเมตร ก็จะถึงน้ำตกแม่กลาง
สามารถเดินลัดเลาะตามเส้นทางเดินไปยังศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากน้ำตกแม่กลางประมาณ 400 เมตร
ผ่านเหมืองฝายและภาพเขียนสีผาคันนา
น้ำตกแม่ยะ
อยู่ทางทิศใต้ของอุทยานแห่งชาติเป็นน้ำตกขนาดใหญ่
เกิดจากลำห้วยแม่ยะ ไหลลดหลั่นลงมาถึง 30 ชั้น รวมความสูงประมาณ 260 เมตร
จนกล่าวกันว่าเป็นน้ำตกที่สวยที่สุดของประเทศ ในช่วงฤดูฝนสายน้ำตกจะแผ่กว้างถึง 100 เมตร ฤดูแล้งปริมาณน้ำอาจลดน้อยลง แต่สายน้ำตกจะใสสะอาดกว่า
น้ำตกแม่ยะตั้งอยู่ทางตอนใต้ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ
เมื่อเข้าสู่ถนนสายจอมทอง-ยอดดอยอินทนนท์ ได้ประมาณ 1
กิโลเมตร จะมีทางแยกซ้ายไปอีกประมาณ 14 กิโลเมตร
น้ำตกวชิรธาร
มีอีกชื่อหนึ่งเรียกว่า
"น้ำตกตาดฆ้องโยง" เกิดจากลำห้วยแม่กลาง อยู่ประมาณหลักกม.ที่ 20 ถนนสายจอมทอง-ดอยอินทนนท์ เป็นน้ำตกขนาดใหญ่
สูงประมาณ 70-80 เมตร
สายน้ำไหลตกจากหน้าผาลงสู่แอ่งน้ำเบื้องล่าง มีน้ำไหลตลอดทั้งปี
ในยามที่แสงอาทิตย์ส่องกระทบละอองน้ำจะปรากฏสายรุ้งงดงามขึ้นเหนือธารน้ำ
ตรงข้ามมีหน้าผาสูงชัน เรียกว่า "ผามอแก้ว" หรือภายหลังเรียกว่า
"ผาแว่นแก้ว"
น้ำตกวังควาย
เป็นน้ำตกที่เหมาะในการลงเล่นน้ำในสายน้ำที่เย็นฉ่ำไหลเซาะลดเลี้ยวตามลานหินลดหลั่นเป็นชั้นๆ
พื้นน้ำเป็นทรายเม็ดละเอียด อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่มาตามถนนสายเชียงใหม่-ฮอด
ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 58
ก่อนถึงตลาดจอมทองเลี้ยวขวาขึ้นไปตามถนนจอมทอง-ดอยอินทนนท์ระยะทางประมาณ 9.7 กิโลเมตร
น้ำตกสิริธาร
ตั้งอยู่ห่างจากตัวอำเภอเชียงใหม่ประมาณ
81 กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108
(เชียงใหม่-ฮอด) ประมาณกิโลเมตร 58
เลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนสายจอมทอง-ดอยอินทนนท์ ประมาณ 23
กิโลเมตร มีทางแยกเข้าไปจุดชมทิวทัศน์น้ำตกสิริธาร ต้องเดินเท้าเข้าไปอีกประมาณ 100 เมตร คดเคี้ยวไปตามความลาดชันของภูเขา
น้ำตกสิริภูมิ
เดิมชื่อ น้ำตกเลาลี
ตามชื่อของชาวเขา ซึ่งเป็นหัวหน้าหมู่บ้านที่อยู่ใกล้น้ำตกนี้ ต่อมา ม.ร.ว.จักรทอง
ทองใหญ่ เมื่อครั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ขนานนามว่า
"สิริภูมิ" เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนาง-เจ้าพระบรมราชินีนาถ
น้ำตกนี้อยู่ที่บ้านขุนกลาง ใกล้ กม.ที่ 31 ถนนสายจอมทอง-ดอยอินทนนท์ เป็นน้ำตก 2 สาย
ที่ไหลคู่กันลงมาจากหน้าผาสูงซึ่งสามารถมองเห็นได้จากระยะไกล
ถ้ำบริจินดา
เป็นถ้ำหินปูนขนาดใหญ่
ภายในถ้ำมีความลึกหลายกิโลเมตร เพดานมีหินงอกหินย้อยหรือที่ชาวเหนือเรียกว่า
"นมผา" และมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ภายใน นอกจากนี้ยังมีธารหิน
เมื่อมีแสงสว่างมากระทบจะเกิดประกายระยิบระยับดังกากเพชรงามยิ่งนัก
ลักษณะของถ้ำเป็นถ้ำทะลุ แสงสว่างลอดเข้ามาได้ ทางเข้าอยู่ทางขวามือห่างจากด่านตรวจไปประมาณ
500 เมตร เข้าไปตามทางอีกประมาณ 1 กิโลเมตร จนสุดทางที่ริมน้ำแม่หอย
จากนั้นต้องเดินข้ามลำน้ำและผ่านป่าไผ่ไปอีก 1 กิโลเมตร
จึงถึงถ้ำบริจินดา
ผาแง่มน้อย
ผาแง่มน้อย
"แง่ม" เป็นภาษาประจำถิ่นของภาคเหนือ มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า
"ง่าม" ในภาษาไทย เป็นคำนามใช้เรียกลักษณะหรือสิ่งที่แยกออกเป็น 2 หรือ 3 ผาแง่มน้อยเป็นหิน
2 แท่ง ตั้งอยู่คู่กันริมเส้นทางเดินชมธรรมชาติกิ่วแม่ปาน
หินที่ประกอบขึ้นเป็นผาแง่มน้อยได้แก่หินแกรนิตเนื้อปานกลางยุคไทรแอสซิก
มีอายุประมาณ 200 ล้านปีมาแล้ว
ยอดดอยอินทนนท์
เป็นยอดเขาสูงสุดของประเทศ
อากาศบนยอดดอยหนาวเย็นประดุจดังอยู่ในเมืองหนาว ยามฤดูหนาวหนาวจัด มีเมฆหมอกครึ้ม
บรรยากาศดังกล่าวไม่อาจหาได้ในส่วนอื่นของประเทศ โดยเฉพาะบริเวณ อ่างกาหลวง
ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
เป็นจุดที่สามารถสัมผัสกับธรรมชาติอันชวนหลงไหลของป่าดิบเขาได้ง่ายที่สุด
ภายในจัดทำเป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติระยะทางประมาณ
300 เมตร โดยใช้สะพานไม้ทั้งหมด
เพื่อป้องกันมิให้เหยียบย่ำธรรมชาติอันเปราะบางเสียหาย เส้นทางจะวนกลับมา ณ
จุดเริ่มต้น มีป้ายให้ความรู้เรื่องธรรมชาติตลอดเส้นทาง
บรรยากาศในอ่างกาหลวงปกคลุมด้วยเมฆที่ลอยพัดผ่านเข้ามาตลอดเวลา
อากาศจึงชื้นและเต็มไปด้วยละอองน้ำ
ทำให้ต้นไม้ใหญ่ในป่าดิบเขามีมอสและเฟินขึ้นหุ้มเต็มต้นจนแลดูราวกับป่าในยุคดึกดำบรรพ์
จุดเด่นของเส้นทางนี้
ได้แก่ ต้นกุหลาบพันปีขนาดใหญ่ โดยเฉพาะในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์
กุหลาบพันปีจะบานอวดดอกสีแดงสดดึงดูดให้นกมากินน้ำหวานและช่วยผสมเกสร เช่น
นกกินปลีหางยาวเขียว นกกินปลีหางยาวคอสีฟ้าฯลฯ
ส่วนตามโคนต้นกุหลาบพันปีมีข้าวตอกฤาษีขึ้นปกคลุมราวกับพรมธรรมชาติ
ข้าวตอกฤาษีเป็นมอสชนิดหนึ่งขึ้นอยู่หนาแน่นมีสีเขียวสลับส้มกับสีน้ำตาลอ่อนๆ
มอสชนิดนี้จะขึ้นได้เฉพาะที่สูง ความชื้นมาก และอากาศหนาวเย็นเท่านั้น
นอกจากนี้ในอ่างกาหลวงยังมีพรุน้ำจืดที่อยู่สูงที่สุดของประเทศ
ซึ่งเป็นถิ่นอาศัยของสัตว์เฉพาะถิ่นหายากบางชนิด
และเป็นถิ่นอาศัยของนกบนที่สูงจำนวนมากซึ่งสามารถพบเห็นได้ค่อนข้างง่าย เช่น
นกศิวะหางสีตาล นกอีแพรดท้องเหลือง นกกะรางหัวแดง นกจับแมลงหน้าผากขาว ฯลฯ
ในช่วงฤดูหนาวยังมีนกอพยพย้ายถิ่นนานาชนิดบินมาอาศัย
ทำให้ดอยอินทนนท์เป็นแหล่งดูนกที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ
บริเวณจุดสูงสุดบนยอดดอยอินทนนท์นี้ยังเป็นที่ประดิษฐานพระสถูปของพระเจ้าอินทวิชยานนท์
ผู้เป็นที่มาของชื่อดอยอินทนนท์แห่งนี้อีกด้วย
พระมหาธาตุเจดีย์
พระมหาธาตุเจดีย์มีด้วยกัน
2 องค์ ได้แก่
พระมหาธาตุนภพลภูมิสิริและพระมหาธาตุนภเมทนีดล ซึ่งสร้างขึ้นโดยทหารอากาศเพื่อเฉลิมฉลองพระเจ้าอยู่หัวทรงครองราชครบรอบ
60 ปี บริเวณโดยรอบประดับด้วยดอกไม้เมืองเหนือสวยงาม
มีร้านอาหารและห้องน้ำสะดวกสบาย
ซึ่งทางทหารอากาศจะเก็บค่าผ่านเข้าชมเพื่อนำเงินไปบำรุงรักษาสถานที่และพรรณไม้ต่าง
ๆ ภายในพระมหาธาตุเจดีย์
หมู่บ้านกะเหรี่ยงแม่แอบใน
เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิตวัฒนธรรมของชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง
หรือ ปกาเกอะญอ ชมการดำนินชีวิตที่เรียบง่าย เช่น การทอผ้า การตำข้าว
การขับกล่อมบทกลอน "ทา" "ซอ" การเล่นเตหน่า รำดาบ
พิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร เช่น การเลี้ยงผีฝาย ผีนา เป็นต้น
ในหมู่บ้านมีการบริการที่พักและกิจกรรมการท่องเที่ยวแบบ Home Stay
หมู่บ้านม้งขุนยะน้อยและม้งบ้านขุนกลาง
(ตลาดม้ง)
เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิตวัฒนธรรมม้ง
บ้านขุนยะน้อย เป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้ง จำนวนประมาณ 70 หลังคาเรือน อยู่ในพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ
1,300 เมตร มีสภาพอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี
สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์จากพื้นที่สูงได้ไกล
บริเวณโดยรอบหมู่บ้านมีสภาพป่าดิบเขาที่ยังคงความสมบูรณ์ และการอนุรักษ์ป่า
"ดงเซ้ง" และต้นไม้ขนาดใหญ่ 7-8 คนโอบ
การดำเนินชีวิตของชาวเขาเผ่าม้งนี้ยังคงใช้วิถีชีวิตวัฒนธรรมเดิมๆ
อยู่มาก เช่น การแต่งกาย การตีมีดแบบดั้งเดิม การโม่ข้าวหรือข้าวโพดด้วยโม่หิน
การทำเหล้าข้าวโพด การสร้างบ้าน การทอผ้า และการจัดประเพณีต่างๆ เป็นต้น
ในหมู่บ้านมีการบริการที่พักและกิจกรรมการท่องเที่ยวแบบ Home Stay
โครงการอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารีอินทนนท์
โครงการนี้เกิดขึ้นจากพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ
พระบรมราชินีนาถ ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของกล้วยไม้รองเท้านารีอินทนนท์
ที่กำลังจะหมดไปจากป่าธรรมชาติ สภาพแวดล้อมเป็นสวนหินที่สวยงาม และทางโครงการฯ
ได้จัดทำสวนกล้วยไม้ และสวนดอกไม้เมืองเหนือไว้อย่างสวยงาม
สถานที่ท่องเที่ยวหน้าหนาวน่าชม
ดอกอ่างขาง จ.เชียงใหม่
ดอยอ่างขาง ตั้งอยู่บนทิวเขาแดนลาว
ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยคำว่า "อ่างขาง" ในภาษาเหนือ
หมายถึง อ่างรูปสี่เหลี่ยมตามลักษณะของดอยอ่างขาง
ซึ่งเป็นดอยที่มีรูปร่างของหุบเขายาวล้อมรอบประมาณ 5 กิโลเมตร กว้าง 3 กิโลเมตร
ตรงกลางของอ่างขางเดิมเป็นภูเขาสูงเช่นเดียวกับบริเวณโดยรอบ
แต่เนื่องจากเป็นภูเขาหินปูน เมื่อถูกน้ำฝนชะก็ค่อยๆ ละลายเป็นโพรงแล้วยุบตัวลงกลายเป็นแอ่ง
มีพื้นที่ราบ ความกว้างไม่เกิน 200 เมตร ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ว่า
“ให้เขาช่วยตัวเอง” เปลี่ยนพื้นที่จากไร่ฝิ่นมาเป็นแปลงเกษตรเมืองหนาวที่สร้างรายได้ดีกว่าเก่าก่อน
เมื่อครั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎร
ที่หมู่บ้านผักไผ่ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และได้เสด็จผ่านบริเวณดอยอ่างขาง
ทรงทอดพระเนตรเห็นว่าชาวเขาเผ่ามูเซอ ซึ่งในสมัยนั้นยังไว้แกละถักเปียยาว
แต่งกายสีดำ สะพายดาบ ทำการปลูกฝิ่นแต่ยังยากจน ทั้งยังทำลายทรัพยากรป่าไม้
ต้นน้ำลำธารที่เป็นแหล่งสำคัญต่อระบบนิเวศน์
ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อส่วนอื่น ๆ ของประเทศได้
จึงทรงมีพระราชดำริว่าพื้นที่นี้มีภูมิอากาศที่หนาวเย็น
มีการปลูกฝิ่นมาก ไม่มีป่าไม้อยู่เลยและสภาพพื้นที่ไม่ลาดชันนัก ประกอบกับ
พระองค์ทรงทราบว่าชาวเขาได้เงินจากฝิ่นเท่ากับที่ได้จากการปลูกท้อพื้นเมือง
และทรงทราบว่าที่สถานีทดลองไม้ผลเมืองหนาว ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ได้ทดลองวิธีติดตา ต่อกิ่งกับท้อฝรั่ง
จึงทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 1,500 บาท
เพื่อซื้อที่ดินและไร่ในบริเวณดอยอ่างขางส่วนหนึ่ง
ตั้งโครงการหลวงขึ้นเป็นโครงการส่วนพระองค์ เมื่อ พ.ศ. 2512 โดยทรงแต่งตั้งให้
หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี เป็นผู้สนองพระบรมราชโองการในตำแหน่งมูลนิธิโครงการหลวง
ใช้เป็นสถานีวิจัย และทดลองปลูกพืชเมืองหนาวชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไม้ผล ผัก
ไม้ดอกเมืองหนาว เพื่อเป็นตัวอย่างแก่เกษตรกรชาวเขา ในการนำพืช
เหล่านี้มาเพาะปลูกเป็นอาชีพ ซึ่งต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
ได้พระราชทานนามว่า "สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง"
ดอยอ่างขาง ตั้งอยู่บนทิวเขาแดนลาว
ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,400 เมตร
และมียอดดอยสูงถึง 1,928 เมตร อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 17.7 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 32 องศาเซลเซียสในเดือนเมษายน และอุณหภูมิต่ำสุด -3 องศาเซลเซียส
บนดอยอ่างขางมีสถานที่น่าสนใจมากมาย
ได้แก่
สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
ตั้งอยู่ในเขตบ้านคุ้ม หมู่ที่ 5
ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ใช้ทำการเกษตรประมาณ 1,800 ไร่
มีหมู่บ้านชาวเขาที่สถานีฯ ให้การส่งเสริมและพัฒนาอาชีพรวม 6 หมู่บ้าน ได้แก่
บ้านนอแล บ้านขอบด้ง บ้านปางม้า บ้านป่าคา บ้านคุ้ม และบ้านหลวง
ซึ่งประกอบไปด้วยประชากร 4 เผ่าได้แก่ ไทยใหญ่ มูเซอดำ ปะหล่อง และจีนฮ่อ
สถานที่ท่องเที่ยวในโครงการเกษตรหลวงดอยอ่างขาง
ได้แก่
เรือนดอกไม้
มีการจัดแสดงพรรณไม้ไว้เป็นกลุ่มตามฤดูกาล
เช่น สวนกล้วยไม้ซิมบิเดียม , กลุ่มกล้วยไม้รองเท้านารี
, กลุ่มดอกโคมญี่ปุ่น , ไม้ดอกกระถางตามฤดูกาล
, ไม้ดอกตามฤดูกาลกลางแจ้ง และพืชกินแมลง
แปลงสาธิตไม้ดอก
แปลงจะอยู่บริเวณใกล้ทางเข้าสถานี
จะจัดแสดงไม้ดอกกลางแจ้งชนิดต่าง มีทั้งไม้ดอกที่ปลูกลงดิน
และไม้แขวนหมุนเวียนตามฤดูกาล
โรงเรือนกุหลาบตัดดอก
ภายในโรงเรือนมีพันธุ์กุหลาบที่ปลูกทั้งหมด
10 สายพันธุ์ เป็นสายพันธุ์จากประเทศฮอลแลนด์
ซึ่งภายในโรงเรือนได้จำแนกกุหลาบเฉพาะกุหลาบตัดดอกตามลักษณะการใช้ประโยชน์
สวนบอนไซ
สวนบอนไซเป็นสวนที่จัดแสดงพันธุ์ไม้ที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขางมีตั้งแต่ยุคต้นๆ
และนำมารวบรวมไว้ให้ชม โดยจัดแสดงในรูปแบบของบอนไซ
ภายในสวนบอนไซอ่างขางได้จัดแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ดังนี้
ส่วนจัดแสดงบอนไซไม้เมืองหนาว , โดมอนุรักษ์พันธุ์พืชภูเขาเขตร้อน
, กลุ่มพืชทนแล้ง , พันธุ์ไม้ต่างถิ่น ,
สวนหินธรรมชาติ
โรงงานชา,
จุดชิมชา ซื้อชา
เป็นจุดที่สถานีจะทำการแปรรูปทำชา
ที่สถานีรับซื้อจากเกษตรกรชาวเขาที่ปลูกที่แปลง 2000 และ บริเวณหมู่บ้านนอแล
โดยพันธุ์หย่วนจืออูหลงจะนำมาทำชาอู่หลง ส่วนพันธุ์เบอร์ 12 จะนิยมนำมาทำชาเขียว
ซึ่งโรงงานยังเปิดให้นักท่องเที่ยวได้มาทดลองชิมชาฟรีที่โรงงานด้วย
แปลงไม้ผล
ไม้ผลเขตหนาวที่ปลูกที่สถานีฯอ่างขาง
ได้แก่ สตรอเบอรี่ กีวี บ๊วย พี้ช พลัม บูลเบอรี่ สาลี่ พลับ
ซึ่งในการปลูกไม้ผลในพื้นที่ต่างๆ ของโครงการหลวง สถานีฯอ่างขางนั้น
มีวัตถุประสงค์ที่จะใช้ไม้ผลเป็นพืชหนึ่งที่จะเป็นรายได้ให้ชาวเขาปลูก
ทดแทนรายได้จากการปลูกฝิ่น หยุดยั้งการทำเกษตรแบบเร่ร่อนของชาวเขา
โรงเรือนรวบรวมพันธุ์ผักเมืองหนาว
เป็นโรงเรือนที่รวบรวมพันธุ์ผักเขตหนาวชนิดต่างๆ
ที่ปลูกในพื้นที่โครงการหลวง และเพื่อเป็นแหล่งความรู้ทางวิชาการ เทคโนโลยีใหม่ๆ
และเป็นส่วนจัดแสดงงานด้านผักเขตหนาวให้แก่ นักศึกษาฝึกงาน คณะเยี่ยมชมงาน
นักท่องเที่ยว และบุคคลทั่วไปให้ได้ชม
และด้านหลังโรงเรือนจะจัดแสดงวิธีการปลูกพืชระบบไฮโดรโพนิกส์ (ปลูกพืชในสารละลาย)
สวนสมเด็จ
ที่เรียกสวนสมเด็จนั้น
เนื่องจากเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย
สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถฯ เสด็จพระราชดำเนินเยือนดอยอ่างขาง
และหลังจากเสร็จภาระกิจการทรงงานแล้วจะทรงเสด็จประทับพักผ่อนพระอิริยาบถในสวนแห่งนี้
ซึ่งต่อมาได้ตั้งชื่อว่าสวนสมเด็จ
โดยลักษณะของสวนจะเป็นสวนหินที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและภายในสวนจะรวบรวมพันธุ์ไม้ประเภทฝิ่นประดับ
ดอกป๊อปปี้ (Poppy) และไม้ประเภทไม้เมืองหนาวชนิดต่างๆ
ซึ่งทนแล้งได้ดีและปลูกโดยการหว่านเมล็ดตามฤดูกาล
สวนไผ่
สวนไผ่จะตั้งอยู่ระหว่างทางก่อนขับรถไปถึงสโมสร
ในสวนจะรวบรวมไผ่หลายชนิดจัดแสดงไว้ให้ชม และยังมีศาลานั่งพักผ่อนด้านบนของสวนด้วย
สโมสรอ่างขาง
สร้างในปี พ.ศ. 2523
โดยได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลไต้หวัน เป็นสถานที่พักผ่อน
สังสรรค์ของเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครโครงการหลวง
สโมสรอ่างขางจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มที่เป็นผลผลิตของเกษตรกรชาวเขา
นอกจากนี้บริเวณรอบๆ สโมสรอ่างขางยังรายล้อมไปด้วยสวนดอกไม้นานาชนิดสร้างบรรยากาศสดชื่นให้แก่
นักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการ สโมสรอ่างขางเปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 07.00
น. – 22.00 น. ทุกวัน หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อสโมสรอ่างขาง 053-450107-9 ต่อ 113 /
114
สวน ๘๐ (Garden
Eighty)
เป็นสวนที่จัดตั้งในวาระที่องค์ประธานมูลนิธิโครงการหลวง
หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ทรงมีอายุครบ 80 ชันษา มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 4.95 ไร่
โดยการพัฒนางานจัดตกแต่งเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543
ลักษณะการจัดสวนเป็นแบบรวบรวมพันธุ์ไม้หลากหลายชนิด ได้แก่ ไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม
และไม้ดอกไม้ประดับ ตามฤดูกาล โดยเฉพาะในฤดูหนาว (เดือนตุลาคม-เดือนมีนาคม)
จะมีพรรณไม้เมืองหนาวนานาชนิด ได้แก่ กะหล่ำและคะน้าประดับ แพนซีไวโอล่า
เดลฟีเนียม ลิ้นมังกร และยังได้รวบรวม ศึกษาปลูกเลี้ยง พันธุ์ไม้จากประเทศต่างๆ
เช่น แม็กโนเลีย คาเมลเลีย ไม้ตระกูลซากุระ และเมเปิ้ล
ซึ่งจะจัดกลุ่มประเภทไม้ดอกออกเป็นหมวดหมู่ ดังนี้
ไม้ดอกฤดูหนาว (ตุลาคม - มีนาคม)
ได้แก่ ดอกลิ้นมังกร กะหล่ำประดับ เจอราเนียม บีโกเนีย เดลฟีเนียม อาเจอราตุ้ม
ผีเสื้อ กาซาเนีย พริมูล่า แพนซี ไวโอล่า เพนสทิม่อน เดซี่ ไอซ์แพล้นท์ เป็นต้น
ไม้ดอกฤดูร้อนและฤดูฝน (เมษายน -
กันยายน) ได้แก่ ดอกซัลเวีย สร้อยไก่ ดาวเรือง ดอกไม้จีน อากาแพนธัส ดาเลีย
รู๊ดบีเกีย เป็นต้น
ไม้ดอกเจริญข้ามปี (perennials)
ได้แก่ ปักษาสวรรค์ แคล่าลิลี่ ลาเวนเดอร์ ตาเป็ดตาไก่ เป็นต้น
ไม้พุ่ม (shrubs)
ได้แก่ ไฮเดรนเยีย คาเมลเลีย อาบูติล่อน หอมหมื่นลี้ ซากุระ
นางพญาเสือโคร่ง แม็กโนเลีย อาซาเลีย โรโดเดนดรอน แปรงล้างขวด เป็นต้น
สวนคำดอย Rhododendron & Azalea Garden
สวนนี้จัดตั้งเมื่อปี
พ.ศ.2547 มีพื้นที่ประมาณ 1.5 ไร่ วัตถุประสงค์
เป็นสวนรวบรวมพันธุ์ไม้ตระกูลโรโดเดนดรอน สายพันธุ์ต่าง ๆ ทั้งในและจากต่างประเทศ และจัดเปลี่ยนไม้ดอกไม้ประดับ
ประกอบเฉพาะบางส่วน ตามฤดูกาล
สวนหอม Scented Garden
จัดตั้งขึ้นเมื่อปี
พ.ศ.2545 มีพื้นที่ประมาณ 2 งาน โดยมีวัตถุประสงค์
เพื่อจัดรวบรวมปลูกพรรณไม้ที่มีกลิ่น จากส่วนต่างๆ ของต้นเช่น ใบหรือดอกมีกลิ่นหอม
และบางชนิดสามารถรับประทานได้ พรรณไม้หอมมีทั้งไม้ยืนต้น เช่น หอมหมื่นลี้
มะโฮเนีย มิชิเลีย เป็นต้น ไม้เลื้อย เช่น มะลิเลื้อย วิสทีเรีย และ
พรรณไม้ดอกข้ามปีและไม้ล้มลุก เช่นผีเสื้อ ลาเวนเดอร์ เจอราเนียมเพลาโกเนียม
ไวโอล่า นอกจากนี้ยังมีพืชสมุนไพรอีกด้วย
กุหลาบอังกฤษ
เป็นกุหลาบที่นำพันธุ์มาจากประเทศอังกฤษทั้งหมดเป็นพันธุ์ที่ปลูกประดับสวน
240 สายพันธุ์ 258 ต้น ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มคือ กลุ่มกุหลาบพัฒนาใหม่ (Modern Garden Rose) และกลุ่มกุหลาบดั้งเดิม (Old
Garden Roses) ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มย่อย เช่น กุหลาบพุ่ม กุหลาบคลุมดิน
กุหลาบเลื้อย กุหลาบหนู และในแต่ละกลุ่ม
แต่ละสายพันธุ์นั้นมีความแตกต่างกันทั้งเรื่องการเจริญเติบโต และการพัฒนาดอก
บางสายพันธุ์สามารถให้ดอกได้ทั้งปี บางสายพันธุ์ให้ดอกปีละครั้งผลผลิตออกดอกมากสุด
ช่วงเดือน มีนาคม – เมษายน ของทุกปี
พระธาตุดอยอ่างขาง
อยู่บนเส้นทางที่จะเดินทางไป
บ้านขอบด้ง บ้านนอแล
นักท่องเที่ยวและผู้สนใจสามารถเดินทางขึ้นไปนมัสการพระธาตุดอยอ่างขางได้ในโอกาสที่เดินทางมาเที่ยวที่สถานีฯ
อ่างขางเพื่อความเป็นสิริมงคล
บ้านขอบด้ง
เป็นหมู่บ้านที่มีชาวเขาเผ่ามูเซอดำอาศัยอยู่
ประกอบอาชีพหลักด้านการเกษตร และมีงานหัตถกรรมชาว (กำไลหญ้าอิบูแค)
เขาจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยว
ที่บริเวณใกล้กันยังมีไร่สตอเบอรี่ที่ปลูกตามไหล่เขาเป็นขั้นบันไดลดหลั่นกันลงมา
ยามเช้ามีสายหมอกสวยงาม